Social Icons

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครื่องมือที่จำเป็นในงานอิเล็กทรอนิกส์

เครื่องมือที่จำเป็นในงานอิเล็กทรอนิกส์

>| เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์
>| เครื่องมือใช้งานทั่วไป
มาทำความรู้จักเครื่องมือที่จำเป็นในงานอิเล็กทรอนิกส์กันดีกว่า
ในการศึกษาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์คงหนีไม่พ้นการทดลอง การประกอบวงจร เพื่อที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น หรือ แม้กระทั้งการซื้อชุดคิทมาทดลองประกอบวงจรเอง ดังนั้นเราจึงควรมีเครื่องมือประจำตัวสำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนอกจากจะ ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์แล้วยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่างอื่นๆด้วยเช่นเดียวกัน
เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น มิเตอร์ สโคปมิเตอร์ เครื่องวัดความถี่ เป็นต้น แต่สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์มือใหม่แล้ว จะแนะนำเครื่องที่จำเป็นต่อไปนี้ครับ



มัลติมิเตอร์แบบเข็ม เครื่องมือวัดแบบนี้เป็นเครื่องมือวัดรุ่นเก่าแต่ยังมีการใช้งานอยู่ทั่วไปปกติแล้วมัลติมิเตอร์แบบนี้จะ สามารถ ทำการวัดค่าต่างๆได้ เช่น ค่าตัวต้านทาน ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้าทั้งกระแสตรง และ กระแสสลับ ซึ่งการวัดค่าเหล่านี้จะเป็นมาตรฐานของเครื่องมือวัดแบบนี้อยู่แล้ว ส่วนจะเพิ่มค่าการวัดอะไรเพิ่มเข้าไปอีกนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตครับ ราคามิเตอร์แบบนี้จะมีราคาไม่แพงมาก คือ ประมาณ 200 - 1,000บาท เท่านั้น แต่การใช้งานมิเตอร์แบบนี้จะต้องมีความระวังในเรื่อง ขั้วในการในการวัดไฟกระแสตรงด้วย เพราะหากใช้ผิดขั้วจะเกิดความเสียหายได้ ส่วนรายละเอียดการใช้งานพื้นฐานจะกล่าวในเรืองของ การใช้งานมัลติมิเตอร์ครับ
มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข หรือ ระบบดิติตอล เป็นเครื่องมือวัดที่พัฒนาต่อมาจากเครื่องวัดแบบเข็ม แต่จะมีการใช้งานง่ายกว่า เพราะเป็นตัวเลขแสดง และ การปลอดภัยการการวัดผิด ขั้วมีมากกว่า และอาจจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานหรือค่าที่ต้องการวัด มาก กว่าแบบเข็ม และบางรุ่นอาจจะสามารถแสดงเป็นกราฟ และบันทึกค่าวัดได้ด้วย ราคาของมิเตอร์แบบนี้ อาจจะสูงซักหน่อย อยู่ที่ประมาณ 500 - 10,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับ ความสามารถวัดค่า และฟังก์ชั่นต่างๆ
สโคปมิเตอร์ เครื่องมืดวัดชนิดนี้จะสามารถวัดค่าออกมาเป็นกราฟ มองเห็นได้ โดยทั้วไปสโคปมิเตอร์จะมีราคาแพง และมีทั้งแบบที่เป็นอนาล็อก และแบบที่เป็นดิติตอล ซึ่งสามารถเก็บบันทึกค่าได้ ความจำเป็นของการใช้ งานสโคปคืองานที่ต้องการที่จะจะเห็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น ในงานซ่อมทีวี ซ่อมเครื่องเสียง หรืองานทางด้านดิติตอลอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเป็นนักอิเล็ก ทรอนิกส์มือใหม่ หรือ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ก็ไม่ต้องซื้อมาเก็บไว้นะครับ ราคาของสโคปมิเตอร์จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทขึ้นไปครับ



เครื่องมือใช้งานทั่วไป
ในงานทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีเครื่องมือใช้งานนอกเหนือจากเครืองมือวัดดังต่อไปนี้ คีม / ไขควง แบบต่างๆ คีมจะใช้ในการตัดขา หรือ งอขาอุปกรณ์ การตัดสายไฟขนาดเล็ก ดังนั้นเราควรจะมีไว้ประจำกายเสมอโดย เฉพาะนักอิเล็กทรอนิกส์ที่ชอบประกอบชุดคิท คีมพวกนี้จะมีทั้งคีมตัด คีบหนีบเป็นต้น และราคาไม่แพงมากขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวคีมเอง ส่วนไขขวงโดยมากจะใช้ในการขันอุปกรณ์บางพวกเช่น ตัวต้านทานเกือกม้า หรือ ใช้ขันน็อตกล่องต่างๆสำหรับใช่ชุดคิท


หัวแร้ง หัวแร้งมีใว้สำหรับการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ลงบนบอร์ดหรือแผ่นวงจร การบัดกรีสายไฟกับคอนเน็กเตอร์ แบบต่างๆ เป็นตัน หัวแรงที่เราเห็นในท้องตลาดจะมีด้วยกันหลายแบบ คือ
1. หัวแร้งแบบวัตต์คงที่ หัวแรงแบบนี้ค่ากำลังวัตต์จะไม่สามารถปรับค่าความร้อนได้
2. หัวแรงปืน หัวแร้งแบบนี้สามารถเปลี่ยนกำลังวัตต์ให้สูงขึ้นได้โดยการกดปุ่ม
3. หัวแร้งที่สามารถเปลี่ยนหัวได้ แบบนี้จะมีราคาสูงและจะสามารถเลือกหัวที่เหมาะสมในการบัดกรีงานต่างๆ


การเลือกใช้งานหัวแร้งย่อมมีความจำเป็นเหมือนกัน โดนปกติหัวแรงจะมีหลายราคา หลายคุณภาพ มีตั้งแต่หลักไม่ถึงร้อย จนถึงเป็นพัน ก็มี สเปกหัวแรงจะบอกกำลังวัตต์(w) ในการใช้งาน แต่โดยทั่วไปการเลือกซื้อหัวแร้งสำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์ ควรเลือกใช้ที่ 25 -40W ก็เพียงพอแล้วหากมากใช้งานมากกว่านั้นความร้อนที่เกิดขึ้นมากจะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ การใช้งานหัวแรงควรจะซื้อที่วางหัวแร้งมาใช้งานร่วมกันด้วย เพราะปลายหัวแร้งมีความร้อนมากหากไม่วาง ในที่ที่ปลอดภัยจะเป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้งานเอง


ตะกั่วบัดกรี ตะกัวบัดกรีใช้ในการบัดกรีงานทั่วไป โดยจะมีให้เลือกใช้หลายแบบ ตามความเหมาะกับการใช้งาน โดยสามารถ สอบถามจากพนักงานขายหรืออ่านจากคู่มือการใช้งาน
ที่ดูดตระกั่ว ใช้ในการดูดกระกั่วที่ไม่ต้องการออกจากตัวอุปกรณ์ ซึ่งจะใช้ตอนเปลี่ยนอุปกรณ์
ตัวถอด IC มีใช้ใช้ถอดอุปกรณ์ที่เป็น IC เพราะ IC มีหลายขา การถอดนั้นอาจจะลำบากหรือยุ่งยากพอสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Sample text

Sample Text

Sample Text